'โอบามา' ประกาศสนับสนุน 'คามาลา แฮร์ริส' ชิง ปธน.สหรัฐฯในนามเดโมเเครต Public Domain  — อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ บารัค โอบามาและภรรยามิเชล โอบามา ประกาศสนับสนุนคามาลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีคนปัจจุบันให้เป็นตัวเเทนพรรคเดโมเเครตลงเเข่งเลือกตั้งเป็นผู้นำประเทศ ... วอยซ์ ออฟ อเมริกา 7 hr
สุดสัปดาห์กับวีโอเอ วัน เสาร์ ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ.2567 Public Domain  — - ระทึกโอลิมปิก หลังโครงข่ายรถไฟฝรั่งเศสถูกวางเพลิงหลายจุด - โอบามาประกาศสนับสนุนแฮร์ริส ชิงตำแน่งปธน. -‘ทรัมป์’ เปิดบ้านต้อนรับ ‘เนทันยาฮู’ ถกปมอิสราเอล-ตอ.กลาง -จับราชายาเสพติดเม็กซิกัน หลังถูกลวงให้บินเข้ามาสหรัฐฯ - ความมั่นใจผู้บริโภคอเมริกันอ่อนตัวลง ต่ำสุดในรอบ 8 เดือน - หมีบุกนั่งในรถ ... วอยซ์ ออฟ อเมริกา 8 hr
ราชายาเสพติดเม็กซิกันถูกรวบตัวในสหรัฐฯ - ปฏิเสธยอมรับผิด Public Domain   วอยซ์ ออฟ อเมริกา 10 hr
รถชาวบ้านสหรัฐฯ พังยับเยิน หลังเหตุปริศนา หมีดำเข้าไปติดอยู่ข้างใน Public Domain   วอยซ์ ออฟ อเมริกา 10 hr
‘ทรัมป์’ เปิดบ้านต้อนรับ ‘เนทันยาฮู’ ถกปมอิสราเอล-ตะวันออกกลาง Public Domain   วอยซ์ ออฟ อเมริกา 10 hr
โอบามาประกาศสนับสนุนแฮร์ริส ชิงตำแน่งปธน.ในนามเดโมเเครต Public Domain   วอยซ์ ออฟ อเมริกา 11 hr
ระทึกโอลิมปิก หลังโครงข่ายรถไฟฝรั่งเศสถูกวางเพลิงหลายจุด Public Domain   วอยซ์ ออฟ อเมริกา 11 hr
ความมั่นใจผู้บริโภคอเมริกันอ่อนตัวลง แตะจุดต่ำสุดในรอบ 8 เดือน Public Domain   วอยซ์ ออฟ อเมริกา 12 hr
ข่าวสดสายตรงจากวีโอเอไทย วันศุกร์ ที่ 26 ก.ค. 2567 Public Domain  — • ไบเดนแถลงหลังถอนตัวเลือกตั้งปธน. • ไบเดนหารือเนทันยาฮูที่ทำเนียบขาว เร่งเร้าข้อตกลงหยุดยิงในกาซ่า • กองทัพเมียนมา-กองกำลังต่อต้าน อ้างยึดศูนย์บัญชาการทหารในรัฐฉานได้ • ลุ้น ‘สุนิสา ลี’ แข่งยิมนาสติกโอลิมปิกทีมชาติสหรัฐฯ หลังเอาชนะอาการป่วย • เตือนภัยผู้บริโภค กระดูกติดคอหลังสั่งเมนูไก่ไร้กระดูก ... วอยซ์ ออฟ อเมริกา 1 d
ไบเดนหารือเนทันยาฮูที่ทำเนียบขาว- เร่งเร้าหยุดยิงในกาซ่า Public Domain  — อิสราเอลเปิดเผยว่าได้กู้ศพของตัวประกัน 5 คนที่ถูกสังหารในการโจมตีของฮามาสเข้าใส่พื้นที่ภาคใต้ของประเทศเมื่อเดือนตุลาคมของปีที่แล้วกลับมาได้สำเร็จ ขณะที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบเดนกดดันให้เกิดการหยุดยิงในสงครามที่กาซ่า ระหว่างการหารือกับนายกรัฐมนตรีอิสราเอลเบนจามิน เนทันยาฮูที่กรุงวอชิงตัน ... วอยซ์ ออฟ อเมริกา 1 d
ข่าวสดสายตรงจากวีโอเอไทย วันศุกร์ ที่ 26 ก.ค. 2567 Public Domain  — • ไบเดนแถลงหลังถอนตัวเลือกตั้งปธน. • ไบเดนหารือเนทันยาฮูที่ทำเนียบขาว เร่งเร้าข้อตกลงหยุดยิงในกาซ่า • กองทัพเมียนมา-กองกำลังต่อต้าน อ้างยึดศูนย์บัญชาการทหารในรัฐฉานได้ • ลุ้น ‘สุนิสา ลี’ แข่งยิมนาสติกโอลิมปิกทีมชาติสหรัฐฯ หลังเอาชนะอาการป่วย • เตือนภัยผู้บริโภค กระดูกติดคอหลังสั่งเมนูไก่ไร้กระดูก ... วอยซ์ ออฟ อเมริกา 1 d
เตือนภัยผู้บริโภค! พบกระดูกติดคอลูกค้าสั่งเมนู 'ไก่ไร้กระดูก' Public Domain   วอยซ์ ออฟ อเมริกา 1 d
ผู้ว่าฯ เเคลิฟอร์เนีย สั่งรื้อกลุ่มเต้นท์คนไร้บ้านในเมืองต่าง ๆ Public Domain   วอยซ์ ออฟ อเมริกา 1 d
ลุ้น ‘สุนิสา ลี’ แข่งยิมนาสติกโอลิมปิกทีมชาติสหรัฐฯ หลังเอาชนะอาการป่วย Public Domain   วอยซ์ ออฟ อเมริกา 1 d
ไบเดนหารือเนทันยาฮูที่ทำเนียบขาว- เร่งเร้าให้มีข้อตกลงหยุดยิงในกาซ่า Public Domain   วอยซ์ ออฟ อเมริกา 1 d
กองทัพเมียนมา-กองกำลังต่อต้าน ต่างอ้างว่ายึดศูนย์บัญชาการทหารในรัฐฉานได้ Public Domain  — รัฐบาลทหารเมียนมาและกองกำลังติดอาวุธชนกลุ่มน้อยต่างออกมาอ้างในวันพฤหัสบดีว่า สามารถยึดเมืองแห่งหนึ่งและกองบัญชาการทหารในรัฐฉาน ทางเหนือของประเทศได้สำเร็จ หลังทั้งสองฝ่ายปะทะกันเป็นเวลาหลายวัน ... วอยซ์ ออฟ อเมริกา 1 d
บอลลูนขยะเกาหลีเหนือก่อกวนเที่ยวบินในกรุงโซล-เป็นต้นเหตุไฟไหม้ Public Domain   วอยซ์ ออฟ อเมริกา 1 d
กองทัพเมียนมา-กองกำลังต่อต้าน ต่างอ้างว่ายึดศูนย์บัญชาการทหารในรัฐชานได้ Public Domain   วอยซ์ ออฟ อเมริกา 1 d
รัสเซียส่งโดรนโจมตีเมืองท่ายูเครนติดต่อกันเป็นวันที่ 2 Public Domain   วอยซ์ ออฟ อเมริกา 1 d
วิสามัญมรณะ โฉมหน้าของรัฐไทย และความตายไร้เสียงของสามัญชน CC BY-NC  — วิสามัญมรณะ โฉมหน้าของรัฐไทย และความตายไร้เสียงของสามัญชน admin666 Fri, 2024-07-19 - 20:17 กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล สัมภาษณ์/เรียบเรียง ‘วิสามัญมรณะ’ หรือการฆ่าโดยเจ้าหน้าที่รัฐเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันลอยนวลพ้นผิดของไทย การตายของสามัญชนในชีวิตประจำวันเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อและแทบไม่เคยมีเจ้าหน้าที่คนใดต้องรับผิด ไม่ว่าจะกรณีน้องเมย, ชัยภูมิ ป่าแส หรือการตายของทหารเกณฑ์ในค่ายทหาร เหล่านี้คือความตายไร้เสียงของสามัญชนและเป็นโฉมหน้าที่แท้จริงของรัฐไทยการใช้ความรุนแรงและการสังหารหมู่โดยปฏิบัติการหรือนโยบายของรัฐเป็นความตายที่มีเสียงและมีที่อยู่ที่ยืนในประวัติศาสตร์ ซึ่งไม่จำเป็นต้องยกตัวอย่างเหตุการณ์กันอีก ทว่า ท่ามกลางชีวิตปกติประจำวันของผู้คนยังมีความตายอีกประเภทที่สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรียกว่าเป็นความตายไร้เสียง ความตายที่เงียบงัน...หรือ ‘วิสามัญมรณะ’ ความตายของสามัญชนที่เจ้าหน้าที่รัฐเข้ามาเกี่ยวข้องซึ่งยังมีการศึกษาเพียงน้อยนิด กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือสมชายชวนพิจารณาการตายของผู้คนในสถานการณ์ปกติอันเกิดจากความรุนแรงของรัฐที่แฝงอยู่ เกิดขึ้นกระจัดกระจายทั่วไปในชีวิตประจำไม่ว่าจะกับใคร หรืออาจจะเกิดกับตัวเราเองในสักวันหนึ่งสมชายกล่าวว่า “วิสามัญมรณะเป็นการตายที่ไร้เสียง มันไม่มีแม้กระทั่งการนับจำนวนด้วยซ้ำ เรื่องราวที่พูดถึงอาจจะมีอยู่บ้างในช่วงที่เกิดเหตุการณ์ขึ้น แต่หลังจากนั้นมันจะกลายเป็นเรื่องที่ไม่มีการรําลึกถึง ถูกลืมเลือนไป ผมลองพยายามไปไล่ดูเหตุการณ์พบว่าเรื่องพวกนี้ไม่มีบันทึกรายละเอียดไว้ แค่การเริ่มต้นจากการนับจำนวนสังคมไทยหรือรัฐก็ยังไม่เคยนับอย่างแท้จริงว่าในแต่ละปีมีคนที่ต้องตายโดยมีอำนาจรัฐเข้ามาเกี่ยวข้องมากเท่าไหร่”การสํารวจผ่านหนังสือพิมพ์ปี 2561 และ 2562 ของสมชายพบว่าในปี 2561 มีวิสามัญมรณะ 30 เหตุการณ์ มีผู้เสียชีวิต 35 ราย ปี 2562 มี 35 เหตุการณ์ มีผู้เสียชีวิต 47 ราย โดยรวมแล้วมีผู้เสียชีวิตจากเหตุวิสามัญมรณะประมาณปีละ 30-50 รายอย่างไรก็ตาม สมชายย้ำว่าจำนวนข้างต้นเป็นเพียงตัวเลขขั้นต่ำเฉพาะที่เป็นข่าว ซึ่งไม่มีใครหรือหน่วยงานใดรู้ว่าตัวเลขที่แท้จริงคือเท่าไหร่ เนื่องจากไม่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลเอาไว้เลยสมชาย ปรีชาศิลปกุลเหยื่อใครบ้างที่เป็นเหยื่อของการวิสามัญมรณะ สมชายตอบว่าคนทั่วไปใครก็ได้ที่ต้องเผชิญหน้ากับอำนาจรัฐด้วยข้อกล่าวหาบางประการหรืออยู่ในการควบคุมของเจ้าหน้าที่รัฐ ตั้งแต่ผู้ต้องหา ผู้ต้องสงสัย ทหารเกณฑ์ นักเรียนนายร้อย หรือคนโชคร้ายสักคนหนึ่ง มันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดได้เป็นปกติโดยไม่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมืองหรือความรุนแรงขนาดใหญ่คำถามสำคัญอยู่ที่ว่าเมื่อเกิดกรณีวิสามัญมรณะขึ้น กระบวนการยุติธรรมปฏิบัติอย่างไรต่อความตายที่เงียบงันเหล่านี้ มีใครต้องรับผิดชอบต่อผู้สูญเสีย ญาติพี่น้องได้รับการเยียวยาอะไรบ้าง“กรณีเหล่านี้เกิดขึ้นภายใต้กระบวนการปกติ ไม่มีการออกกฎหมายพิเศษ เป็นการตายที่เกิดขึ้นในสภาวะที่ค่อนข้างปกติ ไม่มีศาลพิเศษ อันนี้เป็นคําถามที่ผมพยายามจะคลี่ว่า เฮ้ย ทําไมเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นเรื่อยๆ กระบวนการทางกฎหมายจัดการอะไรกับเรื่องนี้บ้าง รวมถึงคนที่สูญเสียโต้ตอบกับเหตุการณ์แบบนี้อย่างไร”เราจะค่อยๆ ตอบไปทีละคำถามความผิดปกติกรณีโจ ด่านช้างทำไมการวิสามัญมรณะจึงเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า สมชายให้คำตอบว่าเพราะเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องแทบจะไม่ต้องรับผิด มีการรับผิดเกิดน้อยมาก เขายกตัวอย่างเหตุการณ์ปี 2539 กรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าจับกุมโจ ด่านช้างหรือศุภฤกษ์ เรือนใจมั่นและพวกในข้อหาค้ายาเสพติดที่จังหวัดสุพรรณบุรีสมชายเล่าว่าหลังจากจับกุมตัวโจ ด่านช้างและพวกรวม 6 คนได้เจ้าหน้าที่ตำรวจก็นำตัวทั้ง 6 คนมาขึ้นรถ แต่ปรากฏว่าอยู่ๆ เจ้าหน้าที่ตำรวจกลับพาทั้ง 6 คนกลับไปยังตัวบ้านที่ทำการจับกุมจากนั้นก็มีเสียงปืนหลายนัดตามมา“ผมคิดว่าตำรวจไม่ต่ำกว่า 25 คนก็ลุยเข้าไปจับใส่กุญแจมือออกมา ตอนนั้นผมดูข่าวนี้อยู่พอดี พอพามาปุ๊บกําลังจะเดินขึ้นรถ ไม่รู้ตำรวจคิดอะไร ตำรวจหันหลังพาโจ ด่านช้างเดินกลับเข้าไปในบ้านอีกรอบหนึ่ง แล้วพอเข้าไปในบ้านปุ๊บก็มีเสียงปืนดังขึ้น 10 นัด ตำรวจก็วิ่งกระเจิงกันออกมาแล้วบอกว่าโจ ด่านช้างขัดขืนการจับกุม ตำรวจเลยจัดการวิสามัญซะพร้อมกับพรรคพวก 6 ศพ ตำรวจไม่มีใครตาย“โจ ด่านช้างถูกใส่กุญแจมือแล้ว ถูกปลดอาวุธแล้ว แล้วพอเข้าบ้านไปปุ๊บกล้ากระโดดไปแย่งปืนจากตำรวจเหรอ แล้วตำรวจแต่งชุดแบบเต็มอัตราศึกเลย เหตุการณ์นี้มีตำรวจที่มีชื่อเสียงอยู่นะครับ ผลปรากฏว่าในตอนหลังตำรวจสำคัญสองคนที่ทำหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติการก็เลื่อนขั้นเป็นพลตำรวจเอกทั้งคู่ มีใครถูกลงโทษจากเหตุการณ์นี้ ก็ขนาดผู้บังคับบัญชายังเลื่อนขั้นมาตามระดับเลย ผมเดาว่าไม่มีใครถูกลงโทษจากเหตุการณ์นี้เลยทั้งที่เหตุการณ์นี้น่าสงสัยมาก”หรืออย่างเช่นคดีน้องเมยหรือภคพงศ์ ตัญกาญจน์ นักเรียนเตรียมทหารที่ถูกซ่อมให้เอาหัวปักพื้นและเสียชีวิตในเวลาต่อมา ถามว่ามีใครต้องรับผิดชอบบ้างน้องเมย หรือ ภคพงศ์ ตัญกาจน์ ภาพตอนเป็นนักเรียนเตรียมทหารเรื่องที่เกี่ยวข้องแผ่นดินจึงดาล: พวงทอง ภวัครพันธุ์ วัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิดอานนท์ มาเม้า: ในรัฐที่ไม่รับผิดชอบ ประชาชนจะฟ้องร้องรัฐได้อย่างไรสถาบันการลอยนวลพ้นผิด ‘ใบอนุญาตฆ่า’ ที่ออกโดยรัฐไทยเกลี้ยกล่อม ข่มขู่ผู้เสียหายกลับมาทางฝั่งผู้เสียหาย หลายกรณีที่สมชายลงพื้นที่ไปพูดคุยพบว่าการใช้กระบวนการทางกฎหมายเป็นเรื่องยากตั้งแต่แสดงเจตจำนงว่าจะดำเนินคดี สิ่งแรกที่คนกลุ่มนี้ต้องเผชิญคือปฏิบัติการของฝ่ายอำนาจรัฐในหลากหลายรูปแบบ เบาสุดคือไปเกลี้ยกล่อมให้ยอมรับสภาพ มอบเงินเยียวยา เสนอให้ญาติพี่น้องเข้ารับราชการ ไปจนถึงการข่มขู่คุกคาม“มีบางคนที่ผมไปคุยด้วยซึ่งยืนยันว่าจะสู้คดี ยืนยันว่ามีการเสนอเงิน เสนอตำแหน่งให้เข้าไปทำงานแทนผู้ตาย ผู้สูญเสียไม่ยอม ผลปรากฏว่าตอนจัดงานศพมีกระสุนปืนมาวางเรียงกันอยู่หน้างานศพ อันนี้คือการข่มขู่ หมายความว่าเวลาที่คนอยากจะสู้คดี เริ่มต้นก็จะเจอปัญหาว่าจะสู้จริงเหรอ ไม่ง่ายนะ รับเงินไปเถอะดีกว่าตายฟรี ไม่อย่างนั้นเอาเข้ามาทำงาน ถ้าเกลี้ยกล่อมไม่ได้ก็ใช้วิธีการข่มขู่ พอถึงจุดหนึ่งคนก็อาจจะลังเล”เป็นเหตุให้มีคดีวิสามัญมรณะจำนวนมากตกหล่นไป ผู้สูญเสียเลือกที่จะหยุด ไม่เดินหน้าใช้กระบวนการกระบวนการยุติธรรมและกฎหมายในการเรียกร้องให้มีการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นไต่สวนการตายที่ไร้ประโยชน์แล้วถ้าผู้เสียหายืนยันจะเดินหน้าต่อล่ะ? พวกเขาจะต้องเผชิญกับกระบวนการที่ยุ่งยาก 2 ขั้นตอนใหญ่ๆ หนึ่งคือการชันสูตรพลิกศพสำหรับกรณีการตายที่ผิดธรรมชาติเพื่อหาสาเหตุการเสียชีวิตโดยมีองค์กร 4 ฝ่ายเข้าร่วม ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจ แพทย์ อัยการ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ขั้นตอนที่ 2 คือการไต่สวนการตายโดยศาล“ศาลจะเป็นคนสั่งว่าผู้ตายเป็นใคร ตายที่ไหน เมื่อไหร่ เหตุและพฤติการณ์ที่ทำให้ตาย ถ้าตายโดยคนทำร้ายให้กล่าวว่าใครเป็นผู้กระทำเท่าที่จะทราบได้” ซึ่งทั้งสองขั้นตอนล้วนมีความยุ่งยากสมชายยกกรณีตากใบปี 2547 เมื่อเจ้าหน้าที่เข้าสลายการชุมนุมและจับกุมผู้ชุมนุมขึ้นรถทหารโดยให้นอนซ้อนกันเป็นชั้นๆ แล้วขับรถจากนราธิวาสเพื่อไปควบคุมตัวต่อที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 78 ศพจากการขนย้าย“การไต่สวนการตายของศาลบอกว่าสาเหตุการเสียชีวิตของผู้เสียชีวิตทั้ง 78 ศพ เพราะขาดอากาศหายใจ ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีผู้ใดทำให้ตายและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เป็นการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ปัญหากลายเป็นว่าการไต่สวนการตายศาลไปพูดถึงเหตุทางกายภาพ ศาลไม่ได้บอกว่าที่ขาดอากาศหายใจเพราะถูกเจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจรัฐให้นอนทับๆ กัน”ชัยภูมิ ป่าแส“กรณีชัยภูมิ ป่าแส ปี 2560 คำสั่งไต่สวนการตายของชัยภูมิ ป่าแสที่ถูกยิงตาย ศาลจึงมีคำสั่งว่าผู้ตายคือนายชัยภูมิ ป่าแส ตายที่ด่านตรวจบ้านรินหลวง ถนนหมายเลข หมู่ที่ ตำบล อำเภอ เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2560 เหตุและพฤติการณ์ที่ตายคือถูกพลทหารใช้อาวุธปืนเอ็ม 16 ยิง กระสุนทะลุต้นแขนซ้ายด้านในและกระสุนแตกทะลุเข้าไปในลําตัวบริเวณสีข้างด้านซ้าย กระสุนปืนทำลายเส้นเลือดใหญ่ หัวใจ และปอดจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย คำสั่งไต่สวนการตายของศาลก็คือบอกว่าตายเพราะขาดอากาศหายใจ ตายเพราะถูกกระสุนปืน แต่ว่าไม่บอกว่าที่ถูกกระสุนปืน ใครยิง แล้วก็ถือว่าเป็นการยิงที่ชอบด้วยกฎหมายหรือเปล่า ศาลไม่ได้เข้าไปยุ่งในเรื่องต่างๆ เหล่านี้”เมื่อศาลไม่ทำงานสมชายชี้ว่าคำสั่งไต่สวนการตายถือเป็นเหตุสำคัญประการหนึ่งที่จะทำให้เกิดความรับผิดขึ้นได้ ในกรณีชัยภูมิ ป่าแส ยังปรากฏอีกว่าหลังเกิดเหตุผู้บังคับบัญชาระดับสูงในพื้นที่บอกว่าตนได้ดูกล้องวงจรปิดแล้วและพูดทำนองถูกต้องแล้วที่ยิง ถ้าเป็นตนอาจกดออโต้หรือยิงเป็นชุดไปแล้ว เหตุนี้ทนายจึงเรียกให้นําเอากล้องวงจรปิดเข้ามาเป็นพยานหลักฐานในคดี แต่ทางกองทัพบกตอบกลับมาว่าไม่พบข้อมูลภาพกล้องวงจรปิดวันเกิดเหตุรถของชัยภูมิ ป่าแสที่เกิดเหตุชัยภูมิถูกยิงเสียชีวิต“ผมคิดว่าในแง่นี้ศาลน่าจะเป็นองค์กรที่สามารถเรียกพยานหลักฐานอันนี้เข้ามาได้ เพราะตอนที่มีการฟ้องคดีกันให้มีความรับผิดเกิดขึ้นนี่เป็นพยานหลักฐานสำคัญว่าทหารยิงเพื่อป้องกันตัวจริงหรือเปล่า แต่ในคําพิพากษาศาลเห็นว่าพยานหลักฐานต่างๆ เพียงพอต่อการวินิจฉัย ไม่ได้เรียกภาพจากกล้องเข้ามาสู่คดี”เห็นได้ว่ากรณีการตายที่มีเจ้าหน้าที่รัฐเข้ามาเกี่ยวข้องพยานหลักฐานส่วนใหญ่จะอยู่ในมือเจ้าหน้าที่รัฐ ถ้ากระบวนการยุติธรรมไม่สามารถนำพยานหลักฐานที่ชัดเจนออกมาได้ โอกาสที่จะลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐใช้ความรุนแรงย่อมเป็นไปได้ยากมาก“ผมยกตัวอย่างง่ายๆ สมมติผมเป็นทหารเกณฑ์ แล้วมีเพื่อนทหารเกณฑ์ผมถูกซ้อมจนตาย ผมอยู่ในเหตุการณ์ คําถามคือถ้าต้องไปขึ้นศาลผมกล้าพูดหรือว่าครูฝึกเป็นคนซ้อมจนตาย ถ้าผมบอกว่าผมเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นคืออะไร จะซ้อมกูต่อหรือเปล่าก็ไม่รู้ หมายความว่ามันไม่มีหลักประกันอะไรเลย ถามผมนี่กล้องวงจรปิดมันช่วยได้แต่ผลปรากฏว่าพอมีกล้องวงจรปิดซึ่งคนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานรัฐเองก็บอกว่าเห็น แบบนี้มันควรต้องถูกดึงมา สิ่งที่ผมบอกคือพยานหลักฐานสำหรับคดีพวกนี้มันไม่ง่าย เพราะฉะนั้นสิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นคือองค์กรในกระบวนการยุติธรรมควรต้องทำหน้าที่บทบาทเชิงรุกที่จะต้องแสวงหาข้อเท็จจริงมาจึงจะทำให้เกิดการลงโทษเกิดขึ้นได้ แต่เราจะพบว่ามันไม่ค่อยเกิดขึ้นมากเท่าไหร่มันเป็นไปได้ยากมาก”Justice delayed is justice deniedอีกหนึ่งความยากลำบากของการเอาเจ้าหน้าที่รัฐคือ เวลา เพราะนอกจากการเข้าถึงพยานหลักฐานจะเป็นไปได้ยากแล้ว การพิจารณาคดียังใช้เวลายาวนานมาก สมชายกล่าวว่ามีคดีหนึ่งที่ภาคใต้เหตุเกิดปี 2554 ศาลตัดสินปี 2566 ใช้เวลา 12 ปี“มีสุภาษิตทางกฎหมายว่า Justice delayed is justice denied ความยุติธรรมที่ล่าช้าคือความยุติธรรมที่ถูกปฏิเสธ กรณีวิสามัญมรณะมันโคตรรดีเลย์เลย พอแบบนี้มันเลยทำให้การลงโทษหรือการเอาผิดเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับความตายชนิดนี้มันเกิดขึ้นได้ยาก“พอมันเกิดขึ้นได้ยากจึงทำให้ดูเสมือนว่าไม่ค่อยมีบทเรียน เพราะฉะนั้นคําถามว่าทําไมได้ยินข่าวทหารเกณฑ์ถูกซ้อมตาย ถูกซ่อมตาย ถูกฝึกจนพิการเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก ในแง่หนึ่งมันเห็นได้ชัดว่าการที่จะทำให้เกิดความรับผิดมันเกิดขึ้นได้ยากมาก มันอาจจะมีบางคดีที่มีความรับผิดเกิดขึ้น แต่ก็ใช้ระยะเวลา แล้วผู้สูญเสียที่จะเรียกร้องก็ต้องออกแรงเยอะมากในการทำให้เกิดความรับผิด ให้เกิดการเยียวยากับความเสียหายเกิดขึ้น”โฉมหน้าที่แท้จริงของรัฐไทยสมชายมองว่าวิสามัญมรณะเป็นปัญหาโดยรวมทั้งกระบวนการยุติธรรม เช่นเคยมีคนขับรถผ่านด่านถูกเจ้าหน้าที่รัฐยิงเสียชีวิต หลังเกิดเหตุก็มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาเคลียร์พื้นที่ เก็บปลอกกระสุน โดยที่เจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งต้องทำบทบาทนี้ไม่ได้ทำ เนื่องจากหน่วยงานรัฐนั้นเป็นหน่วยงานที่ใหญ่กว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงไม่กล้าขัดขวางเหตุการณ์ลักษณะนี้แสดงให้เห็นว่ามันเป็นปัญหาตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บพยานหลักฐาน การชันสูตรพลิกศพ การไต่สวนการตาย จนถึงในชั้นศาล“ผมคิดว่านี่คือโฉมหน้าที่แท้จริงของรัฐไทย เพราะมันเป็นสภาวะปกติ มันไม่ใช่สภาวะพิเศษที่มีความขัดแย้งขนาดใหญ่ แต่อันนี้คือสภาวะปกติที่เกิดขึ้นเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า มันทำให้เราเห็นโฉมหน้าอันแท้จริงของรัฐไทยได้ชัดเจนขึ้นว่าทําไมรัฐไทยจึงสามารถใช้ความรุนแรงกับผู้คน”พลทหารคชา พะยะ กับภรรยา และลูกสาวคนโต แล้วลูกอีกหนึ่งคนยังอยู่ในครรภ์ อายุครรภ์ 5 เดือน เขาเสียชีวิตหลังเกิดเหตุเมื่อวันที่ 21 ส.ค.2561 ในอีกเกือบ 1 เดือนให้หลังเรื่องที่เกี่ยวข้องทหารเกณฑ์ถูกซ่อมหัวใจหยุดเต้น แพทย์เผยโอกาสรอดน้อย ทหารบอกญาติอย่าให้เป็นข่าวทำให้มองเห็นงานศึกษาลักษณะนี้ข้อเสนอที่ออกมามักเป็นไปในทำนองว่าต้องเพิ่มการตรวจสอบ ซึ่งสมชายเห็นว่าไม่ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอะไร เขาจึงเสนออีกมุมหนึ่งคือชวนสังคมให้ความสนใจต่อความรุนแรงของรัฐที่ทำให้เกิดความตายขึ้นและเป็นความรุนแรงที่เงียบงันเพิ่มขึ้น นักวิชาการหรือสื่อมวลชนจะต้องเกาะติด วิจัย หรือศึกษาความรุนแรงชนิดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันให้มากขึ้น เนื่องจากความรุนแรงลักษณะนี้เป็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าและใครๆ ก็อาจเข้าไปเกี่ยวข้องและได้รับผลกระทบสำหรับหน่วยงานรัฐ สมชายเสนอให้มีหน่วยงานที่ทำการรวบรวมข้อมูลวิสามัญมรณะ จําแนกแยกแยะ จัดประเภท ขนาด และระดับของความรุนแรง ซึ่งนอกจากจะช่วยให้เห็นสถิติแล้ว ยังช่วยให้สังคมเกิดความสนใจ และมีข้อมูลในการติดตามตรวจสอบต่อไป“ผมคิดว่าอย่าไปคาดหวังว่าหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวกับความมั่นคง หน่วยงานเหล่านี้ในเมืองไทยถูกสร้างขึ้นเพื่อปกป้องรัฐ ถ้าถามผมผมคิดว่าควรสนับสนุนหน่วยงานหรือองค์กรที่ไม่ได้อยู่ภายใต้กลไกรัฐหรือจะเป็นกลไกรัฐแต่ต้องเป็นองค์กรที่มันค่อนข้างอิสระ อย่างเช่นคณะกรรมการสิทธิฯ อาจจะเข้ามาเกี่ยวข้องได้หรือจะทำยังไงให้องค์กรเอกชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่ทำหน้าที่เกี่ยวกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมให้มีบทบาทมากขึ้นในการเอาผิดเจ้าหน้าที่รัฐ“การทำให้เกิดการตรวจสอบและให้มีความรับผิดควรคิดถึงองค์กรที่พอจะมีความเป็นอิสระจากอำนาจรัฐ ถ้าจะทำให้เรื่องนี้ถูกมองเห็น ถูกจัดการ และถูกแก้ไข ในเบื้องต้นต้องทำให้มันถูกมองเห็นก่อน ถ้ามันยังไม่ถูกมองเห็นผมคิดว่าโอกาสที่ไปคิดถึงประเด็นอื่นน่าจะยาก” สมชายกล่าวปิดท้าย  ข่าว การเมือง สิทธิมนุษยชน คุณภาพชีวิต สมชาย ปรีชาศิลปกุล วิสามัญมรณะ วิสามัญฆาตกรรม วัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิด กระบวนการยุติธรรม กรณีตากใบ ชัยภูมิ ป่าแส ความรุนแรงที่เกิดจากเจ้าหน้าที่รัฐ โจ ด่านช้าง ติดตาม "ประชาไท Prachatai.com" ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้า https://prachataistore.net ... ประชาไท 1 d
การบริหารจังหวัดชายแดนใต้: สับสน ซ้ำซ้อน ยุ่งเหยิง CC BY-NC  — การบริหารจังหวัดชายแดนใต้: สับสน ซ้ำซ้อน ยุ่งเหยิง user8 Thu, 2024-07-25 - 16:14 อาทิตยา เพิ่มผล รายงาน สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย คือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาสและบางส่วนของจังหวัดสงขลา ตกอยู่ในสถานการณ์ความรุนแรงมาเป็นเวลาถึง 20 ปีแล้ว ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ปล้นปืนไปจากกองพันพัฒนาที่ 4 ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์หรือที่รู้จักกันทั่วไปในนาม “ค่ายปิเหล็ง” อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2547 ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้รายงานว่า นับแต่วันนั้นเป็นต้นมาจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2567 ความรุนแรงที่เกิดขึ้นไม่เว้นแต่ละวันนับได้มากถึง 22,621 เหตุการณ์ จนมีผู้เสียชีวิตถึง 7,611 ราย บาดเจ็บ 14,208 คนสถานการณ์เช่นนั้นทำให้ทั้งภาครัฐและประชาชนในพื้นที่อยู่ไม่เป็นสุข ชีวิตหาความสงบไม่ได้ ตกอยู่ในความหวาดหวั่นตลอดเวลาว่าจะเกิดเหตุขึ้นมาอีกเมื่อไหร่ รัฐบาลในกรุงเทพฯ ดิ้นรนหาหนทางที่จะสร้างสันติภาพมาตลอด 2 ทศวรรษ มีการออกกฎหมายมากมายหลายฉบับ ตั้งและยุบองค์กรหลายครั้งหลายครา ซ้ำซ้อนกับหน่วยทางการปกครองที่มีอยู่เดิมทั้งส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน เพื่อควบคุมและบริหารสถานการณ์ แต่ดูเหมือนว่าจะอยู่ในอาการจับต้นชนปลายไม่ถูก ความรุนแรงอาจจะลงบ้างบางเวลา แต่ก็เป็นบางเวลา สถานการณ์โดยรวมยังอยู่ในสภาพที่ห่างไกลจากสันติสุข ไม่นับว่าความเป็นอยู่ของประชาชนยิ่งนับแต่จะย่ำแย่รายงานนี้ทำการสำรวจสภาพปัญหาของการบริหารสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนใต้ เพื่อค้นหาว่า รูปแบบ หน่วยงาน และโครงสร้าง ที่มีอยู่อย่างซ้ำซ้อนกันในปัจจุบันจะสามารถตอบสนองการแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างไรหลายองค์กรทับซ้อน ซ้ำซ้อนโครงสร้างในการบริหารสถานการณ์จังหวัดชายแดนใต้ได้รับการปรับเปลี่ยนหลายครั้ง ทั้งเปลี่ยนชื่อ กฎหมายที่ใช้กำกับ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ โดยแปรตามอำนาจและนโยบายทางการเมืองของรัฐบาลในกรุงเทพฯมากกว่าจะปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ ในยุคปลายสงครามเย็นคือช่วงทศวรรษ 1980 สมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี การบริหารสถานการณ์ความขัดแย้งและความรุนแรงในจังหวัดชายแดนใต้ อยู่ภายใต้การดูแลของ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ตั้งขึ้นในปี 2524 เป็นนิติบุคคลอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี เพื่อรับผิดชอบงานด้านการพัฒนาและประสานงานทางด้านการปราบปรามผู้ก่อความไม่สงบกับกองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจ ทหารที่ 43 (พตท. 43) ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านความมั่นคงที่ตั้งขึ้นในปีเดียวกันภายใต้การบังคับบัญชาของแม่ทัพภาคที่ 4 ต่อมาในสมัยทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีเห็นว่าสถานการณ์ค่อนข้างสงบ นอกจากอาชญากรรมทั่วไปแล้วบางเวลาแทบไม่มีเหตุการณ์ก่อความไม่สงบเลย จึงได้มีคำสั่งยุบ ศอ.บต. และ พตท. 43 ในปี 2545 แล้วโอนย้ายอำนาจหน้าที่ในการบริหารสถานการณ์ให้ไปอยู่ในความดูแลของ สภาความมั่นคงแห่งชาติแต่หลังเหตุการณ์ปล้นปืนแล้ว กลุ่มอำนาจเก่าโทษรัฐบาลทักษิณว่าประเมินสถานการณ์ผิดพลาดจนมีการยุบโครงสร้างการบริหารสถานการณ์ซึ่งเคยทำงานได้ผลดีมาแล้วทิ้งไป ทักษิณ จึงได้มีคำสั่งจัดตั้งกองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กอ.สสส.) รับผิดชอบเป็นหน่วยงานขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี เมื่อเดือนมีนาคม 2547 ซึ่งก็แก้ไขสถานการณ์อะไรไม่ได้แม้แต่น้อย ความรุนแรงยิ่งเพิ่มทวีขึ้นอย่างมาก หลังการรัฐประหารโค่นล้มทักษิณแล้ว รัฐบาลที่มีพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีจึงได้รื้อฟื้น ศอ.บต.และ พตท. 43 ขึ้นมาใหม่ในเดือนตุลาคม 2549 แรกๆให้อยู่ภายใต้การกำกับของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้รับการรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ที่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหลังจากนั้นมีการปรับโครงสร้าง ศอ.บต. ใหม่ ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2553 โดยกำหนดให้ ศอ.บต. เป็นส่วนราชการรูปแบบเฉพาะที่ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง แต่ให้มีฐานะเป็นนิติบุคคลขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีเช่นกันดูเหมือนองค์กรหลักทั้งสองจะรวมศูนย์อยู่ที่นายกรัฐมนตรี แต่ในการปฏิบัติงานจริงนั้นนายกรัฐมนตรีจะแต่งตั้ง เลขาธิการ คนหนึ่งซึ่งแต่เดิมกำหนดให้ต้องเป็นข้าราชการพลเรือน ทำหน้าที่ในการประสานงานและบริหารงานพัฒนาในพื้นที่ ส่วน กอ.รมน. นั้นแท้จริงแล้วขับเคลื่อนโดยกองทัพบก โดยมีผู้บัญชาการทหารบกเป็นรองผู้อำนวยการ และ เสนาธิการทหารบกเป็นเลขานุการ นอกจากนี้ ยังมีสภาความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานอีกเช่นกัน ทำหน้าที่ในการวางนโยบายและกำหนดแนวทางอันเกี่ยวกับสถานการณ์ความมั่นคงในจังหวัดชายแดนใต้ รอมฎอน ปันจอร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (แฟ้มภาพ)ดุลยรัตน์  บูยูโส๊ะ ประธานคณะขับเคลื่อนการพูดคุยสันติสุขระดับพื้นที่ (แฟ้มภาพ)รอมฎอน ปันจอร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เห็นว่า นายกรัฐมนตรีในฐานะกำกับดูแลหน่วยงานทั้งสาม ควรจะมีวิสัยทัศน์ในการกำหนดนโยบายและทิศทางในการบริหารสถานการณ์ที่ชัดเจนกว่านี้  อย่างไรก็ตาม โครงการสร้างการปกครองทั่วไปในสามจังหวัดภาคใต้ ก็ไม่ได้แตกต่างจากที่อื่น กล่าวคือ ยังมีจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ซึ่งเป็นการปกครองส่วนภูมิภาค แล้วก็ยังมี องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล เหมือนที่อื่นดุลยรัตน์ บูยูโส๊ะ ประธานคณะขับเคลื่อนการพูดคุยสันติสุขระดับพื้นที่ กล่าวว่า แม้ ศอ.บต. และ องค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท.) มีส่วนที่ทับซ้อนกันอยู่มาก เหมือนไปด้วยกันได้ หนุนเสริมกันได้ แต่ที่ทับซ้อนคืองานของ กอ.รมน. กับ ศอ.บต. งานหลักจริงแยกส่วนกันชัดเจน คืองานความมั่นคงกับงานพัฒนา แต่เวลานี้ ทั้งสองยังแบ่งภาระงาน งบประมาณไม่ลงตัวเท่าไหร่ ทำให้มีการทับซ้อนกันอยู่ “ต้องยอมรับว่างบประมาณส่วนใหญ่ตอนนี้อยู่ที่ ศอ.บต. แต่บางครั้ง แต่ละปี ใช้เงินไม่หมด ไม่รู้จะไปทำอะไรที่ไหน ยังไม่ทั่วถึง” ดุลยรัตน์ กล่าว และว่า ศอ.บต. มีงานหลักอยู่ในตัวของเขา งานแต่ละปีที่ทำประจำ แต่งานที่เป็นนโยบายเชิงรุก อาจจะเพราะขาดสภาที่ปรึกษา ไปมันก็เลยไม่มีงานใหม่ๆ ที่จะเข้าถึงประชาชนได้ดีกว่าเดิม ของที่ทำอยู่เข้าถึงประชาชนนั่นแหละในเรื่องการพัฒนาบุคลากรในพื้นที่ก็ยังทำอยู่ทหารหรือพลเรือนเป็นใหญ่สมัยรัฐบาลที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งก็ยึดอำนาจมาจากรัฐบาลพลเรือน มีการปรับเปลี่ยนการบริหารสถานการณ์ในจังหวัดภาคใต้อย่างมาก เขาอาศัยอำนาจพิเศษตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญในสมัยรัฐบาลทหาร ออกคำสั่งหลายฉบับเพื่อรวมศูนย์อำนาจและให้บทบาทฝ่ายทหารอย่างมาก ตัวอย่างเช่น กฎหมาย ปี 2553 กำหนดให้เลขาธิการ ศอ.บต. ต้องเป็นพลเรือนเท่านั้น สมัยประยุทธ์สามารถแต่งตั้งนายทหารมาดำรงตำแหน่งนี้ได้ รอมฎอน ปันจอร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล กล่าวว่า ในคำสั่งคณะรักษาความงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 14/2559 สมัยประยุทธ์ ระบุว่างดเว้นการบังคับใช้พระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2553 ที่ว่าด้วยสภาที่ปรึกษาการบริหารการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นผลผลิตที่มาจากความขัดแย้ง ที่ดำเนินมาตั้งแต่ปี 2547 รัฐบาลในช่วงเวลานั้น พยายามที่จะสถาปนาหน่วยงานพลเรือนขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งสภาที่ปรึกษามีอำนาจหน้าที่แยกเฉพาะ ทั้งในการให้ความคิดเห็นกับร่างนโยบายที่ทางความมั่นคงแห่งชาติยกร่างขึ้นมา ให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษาต่อนายกรัฐมนตรีและเลขาธิการ ศอ.บต. ตรวจสอบข้อเท็จจริงในประเด็นปัญหาที่ได้รับเรื่องร้องเรียน แสดงความเห็นในการโยกย้ายข้าราชการพลเรือนที่ประพฤติตัวไม่เหมาะสม ที่ประชาชนร้องเรียนมาอันเป็นผลผลิตจากการบริหารที่รวมศูนย์อำนาจ“การมีสภานี้ก็เป็นพื้นที่ของประชาชนที่น้อยนิด พอ คสช.มาปี 2557 มีการยกเลิกสภาที่ปรึกษานี้ โดยเฉพาะที่มา ซึ่งมาจากกลุ่มอาชีพต่างๆ ที่มีการเลือกกันเอง ให้ทางราชการเป็นคนคัดสรร อำนาจหน้าที่ที่สามารถถ่วงดุลเลขาธิการ การบริหารราชการในพื้นที่ก็ถูกตัดไป ซึ่งเราก็พยายามผลักดันให้มีการฟื้นคืนสภาที่ปรึกษาขึ้นมา” รอมฎอน สส.จากพรรคฝ่ายค้านกล่าวดุลยรัตน์ ประธานคณะขับเคลื่อนการพูดคุยสันติสุขระดับพื้นที่ มีความเห็นสอดคล้องกันว่า สภาที่ปรึกษาซึ่งเปรียบเหมือนกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นตัวแทนของหลายๆอาชีพที่เข้าไปเป็นที่ปรึกษาในการวางนโยบายต่างๆ เหมือนมีตัวแทนประชาชนเข้าไปคุยกับข้าราชการ ไปเสนอแนะ แต่รูปแบบหลังๆ เป็นการคัดเลือกกันเองมากกว่า ไม่เหมือนเมื่อก่อนที่ต้องผ่านการคัดสรรมาเยอะ มาในสมัยรัฐบาลที่มีเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี นั้นมีความพยายามกลับไปหาหลักการเดิม เริ่มต้นการนำเจ้าหน้าที่จากกระทรวงยุติธรรม คือ พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ อดีตรองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ อดีตผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ และอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน มาดำรงตำแหน่งเลขาธิการ ศอ.บต. โดยรอมฎอน เห็นว่า กอ.รมน. ดูจะมีบทบาทในพื้นที่ค่อนข้างเด่นชัดเพราะเคยมีอำนาจมาตลอด ส่วน ศอ.บต. นั้นเพิ่งจะเปลี่ยนเลขาธิการอาจจะยังจับต้นชนปลายไม่ถูกดุลยรัตน์ มีความเห็นเพิ่มเติมว่า “ช่วงดังกล่าวเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านด้วย ในขณะที่ตอนนี้มีการเรียกร้องจากนักการเมืองหลายๆ ท่านต้องการปลดล็อคคำสั่งมาตรา 44 ของ พล.อ.ประยุทธ์ เพื่อให้ ศอ.บต.กลับไปอยู่สภาพแบบเดิม เพราะโครงสร้าง ศอ.บต. เคยถูกเปลี่ยนแปลง ไม่มีความอิสระในการทำงานเท่าที่ควร ไม่มีการเข้าถึงประชาชนสักเท่าไหร่ ผิดกับ กอ.รมน. ซึ่งเป็นหน่วยงานกองกำลัง มีหน่วยงานภาคสื่อมวลชน ประชาสัมพันธ์อยู่เต็มในพื้นที่ เลยกลายเป็นว่าภาพของ กอ.รมน.เลยดีกว่า ศอ.บต.เสียอีก”รอมฎอน กล่าวเสริมว่า “ผมก็ใช้โอกาสนี้ในการตั้งคำถามว่าท่าน (เศรษฐา ทวีสิน) ดูเหมือนจะไม่แยแสปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้มากพอ เป็นไปได้ว่ารัฐบาลจะปล่อยให้เป็นการดูแลภายใต้กองทัพ หรือ กอ.รมน. ต่อไป เพราะไม่เห็นการกำหนดทิศทางว่าจะแก้ปัญหาหรือสร้างสันติภาพด้วยแนวทางแบบไหน ในทางตรงข้ามท่านนายกฯ ลงไปในพื้นที่สามจังหวัด เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ก็ไม่พูดถึงเรื่องความมั่นคงหรือสันติภาพ แต่พูดในประเด็นการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ ซึ่งเราคาดหวังว่าผู้นำฝ่ายรัฐบาลจะมีแนวทางในการแก้ปัญหานี้ ซึ่งคนขัดแย้งกันโดยมีการใช้กำลัง มันต้องการพลังทางการเมืองของฝ่ายบริหารในการชี้ว่ารัฐบาลจะไปทางไหน มีคำสั่งสานต่อการพูดคุยสันติภาพ ซึ่งดำเนินไปอย่างที่รัฐบาลก็ระมัดระวังที่จะไม่พูดถึง การขยายอายุพระราชกำหนดบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่เอง ก็ไม่ต่างจากรัฐบาลก่อนหน้านี้ มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายใน แต่เราคาดหวังให้นายกรัฐมนตรีทำงานให้เป็นรูปธรรมมากกว่านี้”งบประมาณหลายแสนล้านบริหารสถานการณ์ใต้ความซ้ำซ้อนในโครงสร้างและหน่วยงานราชการในการบริหารสถานการณ์ภาคใต้ เป็นที่มาของความสับสนในการใช้จ่ายงบประมาณที่มาจากเงินภาษีของประชาชน โดยประเทศไทยใช้งบประมาณไปแล้วเกือบ 5.4 แสนล้านบาทเพื่อควบคุมและบริหารสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมาดุลยรัตน์ กล่าวว่าหน่วยราชการในเขตจังหวัดชายแดนใต้ดูเหมือนจะมีเสรีภาพในการใช้จ่ายมากกว่าที่อื่น “คือมันมีอะไรพิเศษอยู่หลายอย่าง โดยเฉพาะการจัดซื้อจัดจ้างไม่ต้องเข้าประมูลทางเว็บไซต์ สัญญาจะทำแบบไหนก็ทำได้เลย สะดวกกว่า กลไกของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินและสำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติก็เหมือนปกติ งบประมาณจะลงมาเยอะจากกระทรวงหลัก ส่วนงบประมาณจากท้องถิ่นก็ยังขาดแคลนเหมือนเดิม มีแต่ภาระงาน ยังไม่ถึง 30 % ด้วยซ้ำ ต้องมีการกระจายอำนาจมากกว่านี้”ในขณะที่ผู้แทนราษฎรอย่าง รอมฎอน กล่าวว่า คนทั่วไปมักจะตั้งคำถามว่าที่เหตุการณ์ไม่สงบ เพราะเอาไว้ใช้งบประมาณด้วหรือเปล่า ก็เป็นคำถามที่คนอยากรู้ “ไปดูเนื้อในจริงๆ มันน่าตกใจมากกว่านั้น ในรอบ 20 ปี ใช้จ่ายงบประมาณ 5.4 แสนล้านบาทในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เรามีต้นทุนเยอะมาก ใช้ทรัพยากรสาธารณะในแก้ไขปัญหา แต่คุณภาพชีวิตค่อนข้างต่ำมาก และอัตราการว่างงานสูง ยังไม่นับรวมว่าสถานการณ์ความขัดแย้งยังอยู่ มีการทำแผนบูรณาการก็เริ่มในรัฐบาลคสช แต่ข้อสังเกตคือเพื่อแก้ปัญหาต่างคนต่างทำ เนื่องจากแต่ละหน่วยงานก็มีแผนการทำงาน หลายๆโครงการที่มาแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ โดยมากำหนดตัวชี้วัดร่วมกัน”“แต่ข้อค้นพบที่สำคัญที่ผมเจอคือมีงบประมาณนอกแผนบูรณาการเต็มไปหมด โดยเฉพาะงบที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง ซึ่งควรจะต้องอยู่ในแผน แต่การเอาออกไปทำให้เราไม่เห็นต้นทุนที่แท้จริงที่สังคมไทยสูญเสียไปกับการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งงบประมาณที่มีปัญหาคืองบกำลังพลและการดำเนินการ ซึ่งปีนึงอยู่ที่ 3-4 พันล้านบาท เป็นเบี้ยเลี้ยงให้กับเจ้าหน้าที่ที่ทำงาน ซึ่งก็มีข้อสงสัยนะครับว่าจำนวนอัตราที่ตั้งไว้เพื่อของบประมาณกับอัตราจริงที่ปฏิบัติงานในพื้นที่อาจจะไม่เท่ากัน มีหลายคนก็วิจารณ์ว่านี่คือที่มาที่ไปของบัญชีผีที่ กอ.รมน.” รอมฎอน กล่าวบัญชีผีที่ว่าหมายถึงกรณีที่เคยมีข่าวเมื่อ 2 ปีก่อน ที่พบว่ามีสิบตำรวจตรีหญิง ซึ่งตัวอยู่ที่ราชบุรีแต่ว่าชื่อสังกัด กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า เป็นเรื่องที่ยังไม่สามารถตรวจสอบได้ แล้วก็พยายามจะตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณ กรณีนี้ไม่ได้ซ้ำซ้อน แต่ไม่โปร่งใส มีความจำเป็นการใช้งบประมาณขนาดนั้นไหม ส่วนที่มันซ้ำซ้อนจริงๆ มีความพยายามอย่างยิ่งในการที่จะคัดกรองงานที่ซ้ำซ้อนออกไปแต่ ก็พบว่าภารกิจที่ว่าไม่ใช่ภารกิจของทหาร "ซึ่งบางภารกิจยิ่งทำยิ่งแย่ เช่นภารกิจด้านการเมือง ในการทำงานกับเครือข่ายประชาชนยิ่งทำยิ่งสร้างความไม่ไว้วางใจ มันมีโครงการอะไรแบบนี้เยอะ ก็เป็นหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติอย่างเรา ที่จะต้องตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณนี้" รอมฎอนกล่าวความจริง สำนักงบประมาณก็เปิดให้ดาวน์โหลดเอกสารงบประมาณประกอบร่างพระราชบัญญัติได้ เพียงแต่อยู่ในรูปแบบไฟล์ PDF อีกทั้งผู้ที่เข้าไปตรวจสอบก็ต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโครงสร้างของการจัดงบประมาณอยู่พอสมควรจึงจะสามารถค้นเข้าไปดูไว้ว่างบประมาณที่ใช้จ่ายในพื้นที่ จังหวัด หรือภารกิจอยู่ตรงไหน “ซึ่งเรื่องนี้เรียนรู้กันได้”รอมฎอน กล่าวด้วยว่า “จริงๆ ความรู้แบบนี้มันเป็นความรู้ที่พลเมืองเรียนรู้ได้นะครับ เพียงแต่รัฐอาจจะต้องเอื้ออำนวยให้เอาถึงได้ง่าย ซึ่งถ้าเอกสารพวกนี้มันสามารถย่อยง่ายนะครับ ประชาชนก็จะมีส่วนร่วมในการติดตามข้อมูล ไม่ต้องรอคนที่จะมานั่งอภิปรายนะครับ เราสามารถที่จะเข้าถึงแล้วก็ทำการวิเคราะห์ แชร์แลกเปลี่ยนกันได้”งบประมาณรายจ่ายในการบริหารจังหวัดชายแดนใต้และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (พ.ศ. 2563-2567)                                                                                                                                                  หน่วย: ล้านบาทปีงบประมาณ25632564256525662567งบบูรณาการ10,6549,5636,9126,2086,574ศอ.บต.318353618618.5685กอ.รมน.9,7746,150 (1,709)5,480 (1,357)5,435 (1,404)4,977 (1,409)สมช.130106 (68)87 (49.1)92 (52)154 (55)จังหวัดปัตตานี13315560238275จังหวัดยะลา13114354217234จังหวัดนราธิวาส13311987246238จังหวัดสงขลา268271146257295อบจ.ปัตตานี227242137270688อบจ.ยะลา169187109110255อบจ.นราธิวาส201195103107340อบจ.สงขลา310352131227276เทศบาลในพื้นที่ชายแดนใต้ไม่มีข้อมูล1,3804651,3681550ที่มา: สำนักงบประมาณหมายเหตุ: งบของ กอ.รมน. และ สมช. ในวงเล็บคือส่วนที่ใช้ในการบริหารสถานการณ์ใต้ ซึ่งจะรวมอยู่ในงบบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ประชาชนมีส่วนร่วม?รอมฎอน ปันจอร์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรเมื่อ 20 มิถุนายน 2567 เสนอแผนบูรณาการชายแดนใต้ด้วยบันได 5 ขั้น เพื่อปลดพันธนาการของ คสช. ตั้งเป้ายุติข้อขัดแย้งให้ได้ในปี 2570 ดุลยรัตน์ มองว่ามีทิศทางที่ไปสู่สันติสุขได้หากภาครัฐโดยเฉพาะ ศอ.บต. และ กอ.รมน. ควรพยายามปรับบทบาท ให้ประชาชนเข้ามาแสดงความผิดเห็นต่อโครงการหรือนโยบายต่างๆมากขึ้น ความผิดพลาดจากอดีต “เขายอมรับนะครับว่า จุดเริ่มต้นของความขัดแย้งในยุค 20 ปีที่ผ่านมา ภาครัฐเองก็มีส่วนทำให้เกิดขึ้นในการใช้ความรุนแรง ยกตัวอย่างเช่น คนที่เขาโดนคดี 20 กว่าคดี ต้องเข้ามาร่วมโครงการมาตรา 21 ใน พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ซึ่งกำหนดให้ศาลสามารถสั่งให้บุคคลเข้ารับการฝึกอบรมอยู่ภายใต้การดูแลของ กอ.รมน. ได้เป็นเวลานานถึง 6 เดือน แต่บางคนหายไปเลยเพราะเจอ 10 คดี ทั้งที่คดีหลักๆ คือคดีเดียว ที่เหลือคือตีความรวมๆ ไปก่อน บ่อยครั้งเกิดกรณีแบบนี้ กอ.รมน.เลยเข้ามามีส่วนรับผิดชอบ ทำงานให้รัดกุม และเข้าเป้ามากขึ้น"ประธานคณะขับเคลื่อนการพูดคุยสันติสุขระดับพื้นที่ กล่าวว่า นี้คือเสียงสะท้อนจากพื้นที่และความโหยหาในสันติภาพ โดยเนื้อในคนภาคใต้ไม่ได้มีความรุนแรง ไม่ได้มีการก่อการร้ายขนาดนั้น อยากให้ส่วนอื่นๆ ของได้เห็นมุมนี้ เพราะการพัฒนาประเทศ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคนในประเทศ ตอนนี้ที่พยายามเรียกร้องคือให้ทาง สส.เข้าไปผลักดัน พ.ร.บ.สันติภาพให้เกิดขึ้นมาให้ได้รอมฎอน กล่าวว่า ท้ายสุดแล้วการบรรลุข้อตกลงสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยกับ BRN น่าจะเป็นแกนกลางสำคัญของการแก้ไขปัญหา “หมายความว่า เราต้องแสวงหาข้อตกลงสันติภาพที่มาจากการเห็นพ้องกันของประชาชนในพื้นที่ด้วย ที่จะเป็นหลักประกันได้ว่าเราจะบรรลุสันติภาพที่ยั่งยืนได้ เป็นจุดตั้งต้นบนเงื่อนไขที่ว่า ผ่านมา 20 ปี ไม่ใช่อยู่ๆ แต่ละฝ่ายสามารถใช้กำลังห้ำหั่นอีกฝ่ายหนึ่งได้อย่างเด็ดขาด มันต้องผ่านกระบวนการในการเจรจาต่อรองกัน ต้องนั่งคุยกัน”การใช้กำลังในมันไม่สามารถตอบโจทย์ได้ ผลกระทบต่อประชาชนพลเมืองมือเปล่ามันสูงมาก การพิจารณาพิทักษ์ปกป้องอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนของรัฐไทย หรือการพยายามปลอดปล่อยปัตตานีให้เป็นอิสระจากรัฐไทย เป้าหมายทั้ง 2 อันนี้มันอาจจะมีจุดอยู่ตรงกลาง“ผมคิดว่าทางที่ไปใกล้เคียงที่สุดทางการเมือง คือจะต้องมานั่งลงคุยกันเรื่องการปรับความสัมพันธ์ในเชิงโครงสร้างใหม่ของการบริหารปกครองในพื้นที่ว่าเราจะสามารถกระจายอำนาจให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ได้ขนาดไหนในขณะเดียวกันก็มีสายสัมพันธ์ที่ผูกพันต่อรัฐด้วย โดยต้องไปในทิศทางใหญ่ทั้งประเทศด้วยที่มีการเคลื่อนไหวเรื่องการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด เรื่องการปฏิรูปโครงสร้างของชุมชน เป็นประเด็นที่พรรคอื่นๆ ก็ดูจะเห็นพ้องกันในหลายๆ เรื่อง” รอมฎอน กล่าวสังคมไทยโดยรวมมันก็กำลังเคลื่อนตัวไปสู่การพยายามจะคลายอำนาจหาทางออกแบบแบ่งปันอำนาจกัน (Power Sharing) คือการแบ่งปันอำนาจกันระหว่างรัฐส่วนกลางกับผู้คนในท้องถิ่น “ผมเองสนใจศึกษาเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 52 ร่วมกับเครือข่าย Deep South Watch มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการกระจายอำนาจหรือการปรับโครงสร้างทางการเมืองการปกครองชายแดนใต้มากกว่า 10 ตัวแบบด้วยซ้ำ บางแบบก็ตอบสนองต่อวัฒนธรรมที่คนส่วนใหญ่ในพื้นที่เป็นมุสลิม หรือกรณีที่ชนกลุ่มน้อยในพื้นที่อย่างชาวพุทธที่จะต้องมีที่มีฐานมีหลักประกันว่าเสียงของพวกเราจะสำคัญ จะอยู่ในสภาจะอยู่ในฝ่ายบริหารอย่างไร อาจจะไม่ใช่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง แต่มาจากการคัดสรรหรือว่าการมีโควตา ทั้งหมดนี้เราสามารถกเถียงกันได้” รอมฎอน กล่าวดุลยรัตน์ บูยูโส๊ะ ประธานคณะขับเคลื่อนการพูดคุยสันติสุขระดับพื้นที่การศึกษาปริญญาตรี   การจัดการทั่วไป  ม.ราชภัฎยะลาปริญญาโท   รัฐประศาสนศาสตร์ สาขาการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่นกำลังศึกษา ปริญญาเอก บริหารการศึกษา University College Bestari มาเลเซียประสบการณ์การทำงานรองนายกเทศมนตรีตำบลนาทวีนอก 14 ปีปัจจุบัน เป็นผู้บริหารโรงเรียนมิฟตาฮุดดีน (บ้านพลีใต้) อ.นาทวี จ.สงขลาความไม่สงบมาจากไหน สันติภาพจะเริ่มได้ยังไงจุดเริ่มผมจะมองว่าเป็นเรื่องของการปกครอง เรื่องชาติพันธุ์มากกว่าซึ่งต้องยอมรับในพื้นที่เหล่านี้มีชาติพันธุ์มลายูไปถึงนครศรีธรรมราช ถ้าดูประวัติศาสตร์แล้ว ต้นกำเนิดมาจากความเชื่อเดียวกัน เชื่อผีสางนางไม้มาก่อนเปลี่ยนมาเป็นพราหมณ์ พุทธ อิสลาม ปัญหาก็คือมีกลุ่มคนบางกลุ่มในการรวมศูนย์ เมื่อมีการปกครองส่วนภูมิภาคเข้ามา ส่วนกลางก็ต้องส่งคนเข้ามาดูแล กลุ่มคนที่อยู่เป็นคนดั้งเดิม ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมาเป็นความบิดเบี้ยวของประวัติศาสตร์แต่ละฝั่ง ใครจะเขียนให้เข้าข้างตัวเองก็เขียนไป ตามความเข้าใจของตัวเองว่าคนในพื้นที่อพยพมาจากอินโดนีเซียมั้ง ไม่ใช่นะ เป็นคนดั้งเดิม แผ่นดินของเขา แต่มารวมให้เป็นหนึ่งเดียวกับประเทศไทย คนที่เขาเสียอำนาจไปอาจจะพยายามปลุกแนวคิดนี้อยู่ อีกส่วนก็คือความต่างในเรื่องของความเชื่อ ถ้าได้เข้าไปสอบถาม คนในภาคใต้ 100 คน กว่า 90% ไม่มีการแบ่งแยกประเทศแน่นอนอย่างการตั้งนโยบายผิดพลาดเรื่องการกดทับวัฒนธรรมที่มีตั้งแต่สมัยของจอมพล ป.พิบูลสงคราม อันนั้นก็มีส่วนเยอะที่บังคับที่ให้เปลี่ยนเครื่องแต่งกาย ภาษามลายูห้าม ต้องใช้ภาษาไทย ก็เลยเกิดการทับถมมาเรื่อยๆ จนเกิดกลุ่มที่เห็นต่างสันติสุขชายแดนใต้ ต้องไปหาตัวชี้วัดว่าวัดว่าวัดจากส่วนไหน ส่วนของเรื่องนโยบายสาธารณะ รัฐบาลจะมีผลการต่อชาวบ้านตรงๆ ถ้าวัดจากความรู้สึกของชาวบ้านเนี้ย ต้องลองมาสัมผัสดูว่าสันติภาพสันติสุขก็คุยกันอยู่ในส่วนตัวของเขาเอง เขาไม่ได้มองเรื่องแบ่งแยกดินแดน เขาไม่ได้มองเรื่องอะไรที่มันใหญ่ๆ นอกจากมีคุณภาพชีวิตที่ดี เศรษฐกิจที่ดีขึ้น ลูกหลานมีการศึกษาที่ดีขึ้น ที่ไปทำเวทีมานะ ประเด็นผู้มีความหลากหลายทางเพศเป็นประเด็นหนึ่งที่ต้องไปทำนโยบายสาธารณะรอมฎอน ปันจอร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกลการศึกษาปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์ (วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ (การปกครอง) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กำลังศึกษาปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ประสบการณ์ทำงานนักกิจกรรม (2544, 2554, 2559, 2560, 2564)ผู้สื่อข่าว (2547)นักวิจัย (2558)สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (2566 ถึงปัจจุบัน)เกี่ยวข้องกับปัญหาภาคใต้อย่างไร?ด้วยความที่ผมก็เป็นลูกครึ่ง เรียกได้ว่าสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นบ้าน พ่อเป็นคนสตูล แม่เป็นคนยะลา เรียนม.ต้นที่ยะลา เรียนม.ปลายที่ปัตตานี มีความคุ้นเคยความใกล้ชิด ความรู้สึกเป็นเจ้าของ ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับพื้นที่และผู้คน ก่อนหน้านี้เป็นนักข่าวในทีมข่าวพิเศษ ทำข่าวเจาะ ข่าวเฉพาะกิจ ของผู้จัดการรายวัน หลายครั้งก็ถูกส่งไปสัมภาษณ์เกี่ยวกับสถานการณ์ชายแดนใต้ เจอเรื่องราวต่างๆที่นำมาเขียนบทวิเคราะห์ ตั้งแต่ปี 2547 มาอยู่ชายแดนใต้นานหน่อย ปี 2548 ร่วมกับสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ จัดตั้ง”ศูนย์ข่าวอิศรา” ซึ่งเป็นการรวมตัวของนักข่าวส่วนกลางจากหนังสือพิมพ์หลายฉบับลงไปปฏิบัติหน้าที่เพื่อนำเสนอข่าวสารใน พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในช่วงที่สถานการณ์ความไม่สงบมีความรุนแรงเป็นอย่างมาก พอปี 2549 ร่วมกับนักข่าวและนักวิชาการในพื้นที่ตั้ง Deep South Watch หรือศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ เพื่อเก็บข้อมูล สนับสนุนการทำข่าวด้วย ผมทำงานที่เกี่ยวข้องกับการติดตามสถานการณ์ความขัดแย้งและกระบวนการสันติภาพในชายแดนใต้มาหลายปี ได้รับการทาบทามให้มาช่วยงานทางการเมืองและตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้ง เป็น สส. เพื่อที่จะผลักดันนโยบายในการแก้ไขปัญหา ปัจจุบันดูแลเรื่องสันติภาพชายแดนใต้ในปัตตานี อยู่ในกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ มีหลายงานที่เกี่ยวกับชายแดนใต้ด้วย เกี่ยวกับความมั่นคงในหลากมิติ เคยเสนอญัติให้มีการตั้งกรรมาธิการวิสามัญ ศึกษาติดตามกระบวนการสันติภาพ ที่ประชุมของส.ส.มีมติตั้งเมื่อตุลาคม ปีที่แล้ว ก็ยังทำงานอยู่ในโค้งสุดท้ายที่ต้องจัดทำรายงานเพื่อเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรมันก็เกิดคำถามถึงสถานการณ์ในปี 2547 คือตอนนั้นเราใช้ชีวิตหรือว่าอยู่ในพื้นที่ เราไม่ได้สัมผัสว่ามันมีสัญญาณของความรุนแรงเลย เกิดคำถามว่ามันเกิดอะไรขึ้น ที่เราคุ้นเคยนี่มันเกิดอะไรขึ้น มันมีคำถามแบบนั้น เราเชื่อว่าถ้าเราพอเข้าใจมากขึ้น คุยกับผู้คนที่ส่วนหนึ่งอยู่กับรัฐไทยไม่ได้แล้ว พูดถึงประวัติศาสตร์ อีกฝั่งคือเราก็เห็นความจริงจังของฝั่งรัฐบาลในการจัดการมากกว่าที่เราคิด โดยเฉพาะเหตุการณ์ตากใบ ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน เราสามารถเดินไปในฐานะคนในออกมาในแต่ละคนนอกเข้าไปในฐานะคนนอกออกมามันอยู่ในจังหวะน่าจะทำอะไรได้บ้าง ตรงนั้นทำให้เราเห็นโอกาสในการที่จะเข้าใจ คิดเรื่องทางออก และทำงานร่วมกับคนได้ คิดว่าไม่ใช่แค่รายงานข่าวเฉยๆ แต่เราน่าจะทำอะไรได้มากกว่านั้นผมซึ่งมีฐานะเป็นนักวิจัย เรียนปริญญาเอกอยู่ด้วย ทำงานวิชาการ ขณะเดียวกันก็ทำงานสร้างเครือข่ายกับภาคประชาสังคม ที่เบ่งบานขึ้นมามากในชายแดนใต้ในศตวรรษ 2550 จากนักข่าวขยับมาเป็นผู้เล่นอีกแบบ เป็นนักวิเคราะห์ ประสานงาน คุยกับคนภาคส่วนต่างๆ ต้นทุนที่เราเคยมีการจัดการกับข้อมูลที่ซับซ้อน การคุยกับคนที่มีความเห็นต่างกัน ทั้งส่วนของพรรคเอง คนที่สนับสนุนพรรคทำให้เห็นว่าเรื่องที่มันดูเหมือนเป็นไปไม่ได้ ให้มันเป็นไปได้ อย่างเราที่มาจากพื้นที่ความขัดแย้ง คนตายไป 7,000 กว่าคน ถ้าเราจมอยู่กับมัน เราจะนึกไม่ออกจริงๆว่าทางออกทางการเมืองจะเป็นยังไง พอมาเป็นฝ่ายนิติบัญญัติก็ได้มาเรียนรู้เรื่องการต่อรองกับพรรคอื่นๆ หน่วยงานราชการ รวมถึงความคาดหวังของพี่น้องประชาชน  รายงานพิเศษ สังคม สิทธิมนุษยชน ความมั่นคง ท้องถิ่นสร้างสื่อสอบ depth ชายแดนใต้ ปาตานี การเจรจาสันติภาพชายแดนใต้ รอมฎอน ปันจอร์ คณะพูดคุยสันติสุขชายแดนใต้ การเจรจาสันติภาพ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เหตุความไม่สงบ อาทิตยา เพิ่มผล ติดตาม "ประชาไท Prachatai.com" ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้า https://prachataistore.net ... ประชาไท 1 d
อิสราเอลเผย กู้ศพตัวประกัน 5 คนกลับจากกาซ่าได้เพิ่ม Public Domain   วอยซ์ ออฟ อเมริกา 1 d
ไบเดนแถลงหลังถอนตัวเลือกตั้งปธน. Public Domain   วอยซ์ ออฟ อเมริกา 2 d
ไบเดนแถลงหลังถอนตัวเลือกตั้งปธน. - ลั่น "ถึงเวลาแล้วต้องส่งผ่านคบเพลิง" Public Domain   วอยซ์ ออฟ อเมริกา 2 d
เนทันยาฮูขึ้นกล่าวต่อสภาสหรัฐฯ ท่ามกลางกระแสประท้วงในกรุงวอชิงตัน Public Domain   วอยซ์ ออฟ อเมริกา 2 d
ข่าวสดสายตรงจากวีโอเอ ไทย ประจำวันที่ 25 กรกฎาคม 2567 Public Domain  — • เนทันยาฮูขึ้นกล่าวต่อสภาสหรัฐฯ แม้เจอกระแสประท้วง • จับตาใครจะสมัครคู่ 'คามาลา แฮร์ริส' ในเลือกตั้งปธน. • ฝรั่งเศสเผยเปิดโปงแผนก่อความวุ่นวายในโอลิมปิก 2024 หลายครั้ง • จริงหรือไม่ มีการใช้คำกล่าวหาเท็จมากมายเพื่อโจมตี คามาลา แฮร์ริส • ‘คนรุ่นใหม่อเมริกัน’ ตัวแปรที่น่าจับตาในศึกเลือกตั้งสหรัฐฯ ... วอยซ์ ออฟ อเมริกา 2 d
ฝรั่งเศสสกัดแผนก่อความวุ่นวายหลายครั้งก่อนพิธีเปิดโอลิมปิก 2024 Public Domain   วอยซ์ ออฟ อเมริกา 2 d
จับตาใครจะสมัครคู่ 'คามาลา แฮร์ริส' ในตำแหน่งรองปธน.? Public Domain   วอยซ์ ออฟ อเมริกา 2 d
ตรวจสอบข่าว: มีการใช้คำกล่าวหาเท็จมากมายเพื่อโจมตี คามาลา แฮร์ริสและแผนหาเสียงเลือกตั้ง จริงหรือไม่ Public Domain   วอยซ์ ออฟ อเมริกา 2 d
เนทันยาฮูขึ้นกล่าวต่อสภาสหรัฐฯ แม้เจอกระแสประท้วงในกรุงวอชิงตัน Public Domain   วอยซ์ ออฟ อเมริกา 2 d
‘คนรุ่นใหม่อเมริกัน’ ตัวแปรที่น่าจับตาในศึกเลือกตั้งปธน.สหรัฐฯ Public Domain   วอยซ์ ออฟ อเมริกา 2 d
อิสราเอลปูพรมถล่มคานยูนิส หลังสั่งอพยพประชาชน Public Domain   วอยซ์ ออฟ อเมริกา 2 d
ไต้ฝุ่น ‘แคมี’ ยกระดับรุนแรงถล่มไต้หวัน คร่าชีวิต 2 ราย เจ็บหลายร้อย Public Domain   วอยซ์ ออฟ อเมริกา 2 d
รมว.ตปท.ยูเครนเยือนจีนครั้งแรก ย้ำพร้อมเจรจาสันติภาพรัสเซีย Public Domain   วอยซ์ ออฟ อเมริกา 2 d
44 ผู้ถูกคุมขังทางการเมือง 27 คดีเป็นมาตรา 112 CC BY-NC  — 44 ผู้ถูกคุมขังทางการเมือง 27 คดีเป็นมาตรา 112 XmasUser Wed, 2024-07-24 - 17:45 ภาพปกและกราฟิก : กิตติยา อรอินทร์  สถานการณ์ผู้ถูกคุมขังทางการเมืองระหว่างปี 2563 จนถึง 24 ก.ค. 2567 โดยอ้างอิงข้อมูลศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน มีผู้ถูกคุมขังอย่างน้อย 44 ราย แบ่งเป็นนักโทษเด็ดขาด อย่างน้อย 18 ราย และคดีที่ยังไม่สิ้นสุด อย่างน้อย 26 รายในจำนวนนี้มีคดีมาตรา 112 จำนวน 27 ราย และคดีอื่นๆ เช่น คดีครอบครองวัตถุระเบิด ดูหมิ่นศาล สหพันธรัฐไท และอื่นๆ อีก 17 รายกราฟิกแสดงรายชื่อผู้ถูกคุมขังทางการเมืองระหว่างปี 2563 จนถึง 22 ก.ค. 2567นักโทษคดีเด็ดขาดลำดับชื่อ-นามสกุลข้อหาโทษรายละเอียดคดี1.อัญชัญ ปรีเลิศมาตรา 112จำคุก 29 ปี 174 เดือนกรณีเผยแพร่คลิปเสียงดีเจวิทยุใต้ดิน 'บรรพต' จำนวน 29 คลิป2.อดีตพลทหาร เมธินมาตรา 112จำคุก 2 ปี 6 เดือนกล่าวพาดพิง ร. 10 ระหว่างโต้เถียงกับคู่กรณีอุบัติเหตุทางจราจร3.ณัฐชนนครอบครองวัตถุระเบิดจำคุก 3 ปีถูกจับกุม เพราะ จนท.ตรวจค้นและพบประทัดยักษ์ ช่วงก่อนการชุมนุม #ม็อบ12มิถุนา654.กฤษณะสหพันธรัฐไท, อั้งยี่จำคุก 3 ปีแจกใบปลิว และขายเสื้อที่มีตราสัญลักษณ์ สหพันธรัฐไท ช่วง 8 มิ.ย.-12 ก.ย. 25615.วรรณภา6.เวหา แสนชนชนะศึกมาตรา 1126 ปี 36 เดือน1.โพสต์ข้อความลงโซเชียลมีเดีย ‘ทวิตเตอร์’ (ชื่อใหม่ "X") บัญชี "ฟ้าฝน ver.เกรี้ยวกราด lll" เล่าเรื่อง “คุกวังทวี” และ "แอร์ไม่เย็น"2.แชร์โพสต์เฟซบุ๊ก 'เยาวชนปลดแอก' วิจารณ์กษัตริย์จำนวน 1 ข้อความเมื่อปี 2564 และวิจารณ์ศาลจำนวน 1 ข้อความเมื่อปี 25653. โพสต์ภาพประกอบข้อความวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับคำพิพากษาสั่งจำคุก 'นรินทร์' คดีซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ติดสติกเกอร์คำว่า 'กูkult' ลงบนพระบรมฉายาลักษณ์ของในหลวงรัชกาลที่ 10 เมื่อ 4 มี.ค. 25657.สมบัติ ทองย้อยมาตรา 112จำคุก 4 ปีโพสต์ข้อความ "กล้ามาก เก่งมาก ขอบใจ" และและอีก 2 ข้อความ8.วัฒน์มาตรา 112จำคุก 1 ปี 6 เดือนโพสต์ชม ร.9 แต่วิจารณ์ ร.109.มาร์คครอบครองวัตถุระเบิด (ระเบิดปิงปอง)จำคุก 2 ปี 1 เดือนตำรวจจับกุมขณะเข้าร่วมชุมนุมดินแดง เมื่อ 20 ส.ค. 2564 และตรวจพบระเบิดปิงปอง 29 ลูก และระเบิดแรงดันต่ำอีก 1 ลูก10.สุดใจครอบครองวัตถุระเบิดจำคุก 1 ปี 6 เดือนถูกพบระเบิดปิงปองช่วงชุมนุมดินแดง เมื่อ #ม็อบ6ตุลา6411.ทัตพงศ์ เขียวขาวครอบครองวัตถุระเบิดจำคุก 3 ปีเข้าร่วมชุมนุมทะลุแก๊ส เมื่อ 21 พ.ย. 256412.กิจจา (นามสมมติ)มาตรา 112จำคุก 1 ปี 6 เดือนไม่มีข้อมูล เนื่องจากมีทนายความคอยช่วยเหลือคดีตัวเองอยู่แล้ว13.ธนายุทธ ณ อยุธยาครอบครองวัตถุระเบิดจำคุก 2 ปี 6 เดือนชั้นอุทธรณ์แก้โทษ : จำคุก 6 เดือนตำรวจค้นบ้านพัก พบระเบิดควัน ประทัดลูกบอล ไข่ก็อง และพลุควัน เมื่อ 10 เม.ย. 2565คดีร่วมกันทำให้เกิดระเบิด และพกพาอาวุธเข้าไปในเมือง จากกรณีปาระเบิดปิงปอง บ้านพักหลวงประยุทธ์ จันทร์โอชา ถ.วิภาวดี เมื่อ 10 เม.ย. 256514.นภัสครอบครองวัตถุระเบิดจำคุก 2 ปี 1 เดือนถูกจับกุมภายหลังยุติการชุมนุม #10สิงหา คาร์ม็อบใหญ่ไล่ทรราช เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2564 และถูกตรวจพบว่ามีระเบิดปิงปองในกระเป๋าจำนวน 3 ลูก15.พรชัย วิมลศุภวงศ์มาตรา 112จำคุก 12 ปี โพสต์ข้อความ 4 ข้อความในเฟซบุ๊ก ช่วง ต.ค.-พ.ย. 256316.ยงยุทธทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานจำคุก 6 เดือนสับศอกใส่ ตร. ระหว่างถูกจับกุมที่ศูนย์การค้าเมเจอร์ รัชโยธิน พร้อมกลุ่ม WeVo ช่วงก่อนการชุมนุม #ม็อบ6มีนา64 นัดหมายโดยกลุ่ม REDEM17.ธนพรมาตรา 112จำคุก 2 ปีแสดงความเห็นใต้รูปโพสต์รูป ร.9คดีที่ยังไม่สิ้นสุดลำดับชื่อ-นามสกุลคดีรายละเอียดคดีชั้นศาล1.'ธี' ถิรนัย ครอบครองวัตถุระเบิด (ระเบิดปิงปอง)ตร.จับกุม เพราะตรวจค้นรถจักรยานยนต์ และพบระเบิดปิงปอง 10 ลูกก่อนการชุมนุม #ม็อบ29สิงหา64ศาลอุทธรณ์ แก้โทษเหลือจำคุก 3 ปี2.'มาย' ชัยพร3.ประวิตรวางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่นคดีเผาป้อมตำรวจจราจร ใต้ทางด่วนดินแดง ในการชุมนุม #คาร์ม็อบใหญ่ไล่ทรราช เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2564ศาลชั้นต้น: จำคุก 6 ปี 4 เดือน4.ขจรศักดิ์ครอบครองวัตถุระเบิดฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินปาระเบิดปิงปองและระเบิดขวดเข้าใส่อาคาร สน.พญาไท และวางเพลิงป้อมจราจรที่แยกพญาไท #ม็อบ30กันยา64ศาลชั้นต้น: จำคุก 11 ปี 6 เดือน ปรับ 1,000 บาท5.คเชนทร์ครอบครองวัตถุระเบิดฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินศาลชั้นต้น: จำคุก 10 ปี 6 เดือน ปรับ 1,000 บาท6.ไพฑูรย์พยายามฆ่าเจ้าพนักงานถูกกล่าวหาว่าได้ใช้ระเบิดโยนใส่เจ้าหน้าที่ ได้รับบาดเจ็บใน #ม็อบ11กันยา2564ศาลชั้นต้น: จำคุก 33 ปี 12 เดือน7.สุขสันต์ศาลชั้นต้น: จำคุก 22 ปี 2 เดือน 20 วัน8.วุฒิมาตรา 112โพสต์เฟซบุ๊กจำนวน 12 ข้อความศาลชั้นต้น: จำคุก 12 ปี 72 เดือน หรือประมาณ 18 ปี9.ทีปกรมาตรา 112โพสต์-แชร์คลิปตั้งคำถามถึงสถาบันกษัตริย์ศาลชั้นต้น: จำคุก 3 ปี10.วารุณีมาตรา 112โพสต์ภาพรัชกาลที่ 10 เปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกตเป็นชุดราตรี สีม่วง แบรนด์ "SIRIVANNAVARI"ศาลชั้นต้น: จำคุก 1 ปี 6 เดือน11.'เก็ท' โสภณ สุรฤทธิ์ธำรงมาตรา 1121.ปราศรัยกิจกรรม "ทัวร์มูล่าผัว" เมื่อ 22 เม.ย. 25652.ปราศรัยในกิจกรรมใครฆ่าพระเจ้าตาก ที่ศาลลงโทษจำคุก 3 ปีศาลชั้นต้น: จำคุก 3 ปี 6 เดือน2. ศาลชั้นต้น: จำคุก 3 ปี12.อุดมมาตรา 112โพสต์และแชร์เฟซบุ๊กรวมจำนวน 7 ข้อความพาดพิงกษัตริย์ศาลอุทธรณ์: จำคุก 4 ปี13.อานนท์ นำภามาตรา 1121.ปราศรัย #ม็อบ14ตุลา63 หน้ารัฐสภา2.ปราศรัยเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ในม็อบ แฮร์ พอตเตอร์ 2 หน้า BACC เมื่อ 3 ส.ค. 25643. โพสต์ 3 ข้อความในเฟซบุ๊ก เมื่อเดือน ม.ค. 2564 มีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์การบังคับใช้มาตรา 112 กับผู้วิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์และเรียกร้องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์1.ศาลชั้นต้น: จำคุก 4 ปี2.ศาลชั้นต้น: จำคุก 2 ปี 20 วัน3.ศาลชั้นต้น: จำคุก 4 ปีรวมทั้งหมดจำคุก 10 ปี 20 วัน14.'อาลีฟ' วีรภาพ วงษ์สมานมาตรา 112พ่นสเปรย์สี ข้อความว่า "ควรปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ #ไอ้ษัตริย์" ที่บริเวณผนังตู้ควบคุมไฟฟ้าของกรุงเทพมหานคร ใต้ทางด่วนดินแดงศาลชั้นต้น: จำคุก 3 ปี15."กัลยา"มาตรา 112กรณีโพสต์เฟซบุ๊ก 2 กระทงศาลอุทธรณ์: จำคุก 6 ปี16.แม็กกี้ (สงวนชื่อสกุล)มาตรา 112โพสต์ทวิตเตอร์ 18 ข้อความชั้นสอบสวน17.จิรวัฒน์มาตรา 112 พ.ร.บ.คอมฯแชร์โพสต์ผูกขาดวัคซีนของสยามไบโอไซน์, ตั๋วช้าง และคำปราศรัยของมายด์ ภัสราวลี ธนากิจวิบูลย์ผลศาลชั้นต้น: จำคุก 6 ปี18.'บัสบาส' มงคล ถิระโคตรมาตรา 112โพสต์เฟซบุ๊ก 27 โพสต์ศาลอุทธรณ์: จำคุก 50 ปี19.'ก้อง' อุกฤษฏ์ สันติประสิทธิ์กุลมาตรา 112โพสต์ข้อความ 5 ข้อความศาลอุทธรณ์: จำคุก 5 ปี 30 เดือน20."อัฐสิษฎ"มาตรา 112ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ทำเพจ "BackArt" วาดงานศิลปะแนวเสียดสีสังคมจำนวน 2 ภาพศาลชั้นต้น: จำคุก 2 ปี 12 เดือน21.'ไบร์ท' ชินวัตร จันทร์กระจ่างมาตรา 1121. ปราศรัยในการชุมนุม #25พฤศจิกาไปSCB เมื่อวันที่ 25 พ.ย. 25632. ปราศรัยในการชุมนุม #ม็อบ29พฤศจิกา63 หน้าราบ 113. ปราศรัยม็อบแห่ขันหมากหน้า สน.บางเขน เมื่อปี 21 ธ.ค. 25634. ปราศรัยในการชุมนุม #2ธันวาไปห้าแยกลาดพร้าว5. ร้องเพลง 'โชคดีที่มีคนไทย' ชูป้าย 'มีข้อความลักษณะศาลไม่เป็นกลาง' และปราศรัยในกิจกรรมหน้าศาลอาญากรุงเทพใต้ เมื่อ 28 ก.ค. 2565 เรียกร้องปล่อยตัว เนติพร เสน่ห์สังคม และณัฐนิช ดวงมุสิทธิ์ 6. สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนที่บริเวณหน้าสำนักงานอัยการสูงสุด หลังอัยการมีคำสั่งฟ้องในคดีปราศรัยในม็อบ #2ธันวาไปห้าแยกลาดพร้าว และ #25พฤศจิกาไปSCB เมื่อวันที่ 19 พ.ย. 25647. ปราศรัยเรื่องการโอนทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 1.ศาลชั้นต้น: จำคุก 3 ปี2.ศาลชั้นต้น: จำคุก 3 ปี3. ศาลชั้นต้น: จำคุก 1 ปี 6 เดือน4. ศาลชั้นต้น: จำคุก 3 ปี5. ศาลชั้นต้น: จำคุก 3 ปี 6 เดือน ไม่รอลงอาญา6. ศาลชั้นต้น: จำคุก 1 ปี 6 เดือน ไม่รอลงอาญา7. จำคุกชั้นต้น 1 ปี 6 เดือน จำคุกรวม 15 ปี 24 เดือน22.'นารา' อนิวัต ประทุมถิ่นมาตรา 112โพสต์เฟซบุ๊ก 1 โพสต์ เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2563ขังระหว่างพิจารณาคดีชั้นศาล23.สิรภพ พุ่มพึ่งพุทธมาตรา 112ปราศรัยในชุมนุม #18พฤศจิกาไปราษฎรประสงค์ เมื่อวันที่ 18 พ.ย. 2563ศาลชั้นต้น: จำคุก 2 ปี24.เชน ชีวอบัญชาดูหมิ่นศาล และมาตรา 112ร้องเพลง 'โชคดีที่มีคนไทย' ชูป้ายวิจารณ์ศาลในกิจกรรม 'ยืนบอกเจ้าว่าโดนรังแก' หน้าศาลอาญากรุงเทพใต้ เมื่อ 28 ก.ค. 2565 เรียกร้องปล่อยตัว เนติพร เสน่ห์สังคม และณัฐนิช ดวงมุสิทธิ์ศาลชั้นต้น: จำคุก 3 ปี 6 เดือน ปรับ 100 บาท ไม่รอลงอาญา 25.'มานี' เงินตา คำแสนคดีเยาวชนลำดับชื่อคดีรายละเอียดคดีมาตรการพิเศษ1.'ภูมิ'มาตรา 112เรียกร้องให้ปล่อยตัว 'นิว' สิริชัย นาถึง ที่หน้าสภ.คลองหลวง เมื่อ 14 ม.ค. 2564ศาลให้ส่งตัวไปสถานพินิจฯ 1 ปี ให้อบรมหลักสูตรวิชาชีพ 2 หลักสูตร2.ฐาปนา (นามสมมติ)คดีอื่นๆคดีวางเพลิงตู้จราจรพญาไท และขว้างปาวัตถุระเบิด ระหว่างการชุมนุม #ม็อบ1ตุลา2564 รับการฝึกอบรม 4 ปี ที่ศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านกรุณา จ.สมุทรปราการหมายเหตุ: สามารถคลิกลิงก์ที่คดีความ เพื่ออ่านรายละเอียด  ข่าว การเมือง สิทธิมนุษยชน มาตรา 112 คดีการเมือง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมคดีการเมือง สิทธิประกันตัว เยาวชน ติดตาม "ประชาไท Prachatai.com" ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้า https://prachataistore.net ... ประชาไท 2 d
ข่าวสดสายตรงจากวีโอเอไทย วันพุธ ที่ 24 ก.ค. 2567 Public Domain  — • ผลสำรวจชี้ ‘แฮร์ริส’ ได้เสียงสนับสนุนเพียงพอเป็นตัวแทนพรรค • ทรัมป์-แฮร์ริส หาเสียงเดือด • ผอ.หน่วยอารักขาผู้นำสหรัฐฯ ไขก๊อกลาออก • จีนเผยความสำเร็จผลักดันข้อตกลงยุติความขัดแย้งฮามาส-ฟาตาห์ • รถพลังงานไฟฟ้าจากจีนเผชิญอุปสรรคในตลาดสหรัฐฯ • ฝรั่งเศสปิ๊งไอเดียเปิดตัวสแตมป์กลิ่นขนมปังบาแกตต์ ... วอยซ์ ออฟ อเมริกา 3 d
ทรัมป์-แฮร์ริส ปะทะคารมเดือด หลังไบเดนถอนตัว Public Domain   วอยซ์ ออฟ อเมริกา 3 d
ข่าวสดสายตรงจากวีโอเอไทย วันพุธ ที่ 24 ก.ค. 2567 Public Domain  — • ผลสำรวจชี้ ‘แฮร์ริส’ ได้เสียงสนับสนุนเพียงพอเป็นตัวแทนพรรค • ทรัมป์-แฮร์ริส หาเสียงเดือด • ผอ.หน่วยอารักขาผู้นำสหรัฐฯ ไขก๊อกลาออก • จีนเผยความสำเร็จผลักดันข้อตกลงยุติความขัดแย้งฮามาส-ฟาตาห์ • รถพลังงานไฟฟ้าจากจีนเผชิญอุปสรรคในตลาดสหรัฐฯ • ฝรั่งเศสปิ๊งไอเดียเปิดตัวสแตมป์กลิ่นขนมปังบาแกตต์ ... วอยซ์ ออฟ อเมริกา 3 d
คุณน้า 'สนู้ปด็อกก์' ตัวแทนสหรัฐฯ วิ่งคบเพลิงโอลิมปิก Public Domain   วอยซ์ ออฟ อเมริกา 3 d
ฝรั่งเศสปิ๊งไอเดียเปิดตัวสแตมป์กลิ่นขนมปังบาแกตต์ Public Domain   วอยซ์ ออฟ อเมริกา 3 d
รถพลังงานไฟฟ้าจากจีนเผชิญอุปสรรคในสหรัฐฯ จากสงครามการค้า Public Domain   วอยซ์ ออฟ อเมริกา 3 d
เลเวลอัพ! ทรัมป์-แฮร์ริส ปะทะคารมเดือด หลังไบเดนถอนตัว Public Domain   วอยซ์ ออฟ อเมริกา 3 d
ผอ.หน่วยอารักขาผู้นำสหรัฐฯ ไขก๊อกลาออก จากเหตุทรัมป์ถูกลอบยิง Public Domain   วอยซ์ ออฟ อเมริกา 3 d
ยูเอ็นเตือน ภัยคุกคามการก่อการร้าย ‘ฟื้นคืนชีพกลับ’ อีกครั้งแล้ว Public Domain   วอยซ์ ออฟ อเมริกา 3 d
จีนเผยความสำเร็จผลักดันข้อตกลงยุติความขัดแย้งฮามาส-ฟาตาห์ Public Domain   วอยซ์ ออฟ อเมริกา 3 d
สื่อรัฐเกาหลีเหนือตีพิมพ์บทความวิจารณ์การเมืองสหรัฐฯ Public Domain   วอยซ์ ออฟ อเมริกา 3 d
ผลสำรวจชี้ ‘คามาลา แฮร์ริส’ ได้เสียงสนับสนุนพอเป็นตัวแทนพรรคลงเลือกตั้งปธน. Public Domain   วอยซ์ ออฟ อเมริกา 3 d
วิเคราะห์ : เดิมพันเดโมเเครตเปลี่ยนม้ากลางศึกเลือกตั้ง Public Domain  —  เกิดคำถามขึ้นมากมายจากการตัดสินใจ "เปลี่ยนม้ากลางศึก" หลังปธน.โจไบเดน ประกาศถอนตัวจากการเลือกตั้งเพื่อเเข่งเป็นผู้นำสหรัฐฯ อีกสมัย และสนับสนุนให้ รองปธน. คามาลา แฮร์ริสลงชิงชัยเเทน ... วอยซ์ ออฟ อเมริกา 4 d
ข่าวสดสายตรงจากวีโอเอไทย อังคาร ที่ 23 ก.ค. 67 Public Domain  — - ผู้นำเดโมแครต-ผู้บริจาคเงิน หนุนแฮร์ริสชิงปธน. - ผอ.หน่วยอารักขารับ "ล้มเหลว" ปกป้องทรัมป์ - 'เนทันยาฮู' เยือนวอชิงตัน ยันสัมพันธ์อิสราเอล-อเมริกา - นักวิจัยชี้ 'สงครามกลางเมืองเมียนมา' ทำลายโครงสร้างการศึกษา - เสียงสะท้อนหลัง ‘ไบเดน’ ถอนตัว - วิเคราะห์: เดิมพันเดโมเเครตในการการเปลี่ยนม้ากลางศึก ... วอยซ์ ออฟ อเมริกา 4 d
เสียงสะท้อนถึงเวทีการเมืองสหรัฐฯ หลัง ‘ไบเดน’ ถอนตัวเลือกตั้ง ปธน. Public Domain   วอยซ์ ออฟ อเมริกา 4 d